1 ปีผ่านไป กับการติดต่อสื่อสารระหว่างครู Smedu (กลุ่มครูภาษาไทย ไอที) ในการทำบล้อคความรู้ แต่เราขาดการติดต่อจนต่อไม่ติด จากประสบการณ์ในการนำบล้อคไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2553 (บล้อค เรียนภาษาไทย ไอทีกับครูลัฐิกา) พบว่า นักเรียนได้รู้จัก Social Media มากชั้น สามารถใช้บล้อคความรู้ไปจัดการความรู้ของตนเอง เวลาครูไม่อยู่สามารถมอบหมายงานลงในบล้อคความรู้ แต่ข้อเสียที่พบคือ เรื่องวินัยในการใช้ Internet นักเรียนจะเพลินไปกับการพูดคุยใน Facebook จนละเลยงานที่มอบหมาย หากคุณครูได้บริหารจัดการเรื่องวินัยการใช้ Internet ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตรได้เป็นอย่างดี ปีที่แล้วบล้อคเรียนภาษาไทยไอทีกับครูลัฐิกาได้รับการพิจารณาให้ผ่านการประเมินไปเติมเต็มความรู้ในรุ่นที่ 2 และได้เข้าร่วมประชุมกับทีมงานของ สทร.อีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 น้องๆกลุ่มครูภาษาไทย ไอที อย่าพึงท้อกันนะคะ ครูลัฐิกายังสนุกกับการเรียนรู้ที่บางครั้งก็อาศัยน้องๆ Smedu ที่เก่งๆ จากกลุ่มสาระอื่น เช่น ครูจักจั่น ครูอริสรา ครูโจ๊ก ครูอั้ม ครูนุ้ย ครูนิ ทุกคนน่ารักมากค่ะช่วยให้คำแนะนำที่เราไม่ทราบ ในกลุ่มครูภาษาไทยไอทีที่ติดต่อกันทาง Facebook อยู่ก็มีครูจรรย์จารีย์ ครูแหวว ส่วนท่านอื่นๆ เงียบเลย มีประธานวสันต์ คำเพราะโผล่เข้ามาทักทายบ้างค่ะ
หน้าที่ครูภาษาไทยจำเป็นต้องพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง แม้จะช้าไปกว่าสาระอื่น อาจเป็นเพราะเราไม่ถนัดทางด้านเทคนิคพอนานๆไปก็จึงลืมการเพิ่มเนื้อหา การปรับแต่งบล้อคให้น่าสนใจ คงไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการพัฒนาใหม่ค่ะ
อยากให้พวกเราช่วยกันปรับปรุง เพิ่มเติมเนื้อหาในบล้อคนี้ร่วมกันซึ่งเคยมอบ Username และ password ไปแล้ว แต่คงลืมและจำไม่ได้ ถ้าท่านใดต้องการเพิ่มเนื้อหาเองก็กรุณาแจ้งมาทางบล้อคนี้ หรือทาง Email. ก็ได้นะคะ ในช่วงนี้จึงขอปรับปรุง บล้อคสำหรับครู Social Media (กลุ่มครูภาษาไทย ไอที) ให้เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นในรายวิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่คุณครูอาจจะนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสม
คุยกันหน่อย
เขียนใน ไม่มีหมวดหมู่
สวัสดีเปิดเทอม
สวัสดีเปิดเทอมค่ะสมาชิกคุณครูภาษาไทย ไอที ที่เงียบหายไม่แวะเวียนเข้ามาในบล้อคกลางของเรานี้เลยหลังจากการอบรม Social Media ลืมชื่อบล้อคครูภาษาไทย ไอที กันไปแล้วหรืออย่างไร ครูลัฐิกาได้เริ่มทดลองนำไปใช้กับนักเรียนบ้างแล้ว โดยสร้างบล้อคใหม่อีก 1 บล้อค ชื่อ Krulathiga นำไปแปะไว้ที่เว็บไซต์ของโรงเรียน danlablae.net แล้วก็ให้นักเรียนเข้าไปตอบคำถามที่ครูกำหนดให้เพื่อฝึกการใช้ Internet พบปัญหาคือ ที่โรงเรียนขณะนี้ใช้ net ได้เพียง 3 เครื่อง จึงแก้ปัญหาโดยการแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3 คน เข้าไปฝึกส่งงานกลุ่มละ 15 นาที ก็ตอบได้จนครบ 27 คน แต่พบปัญหาอีกคือครูลืมออกจากระบบก่อนที่จะให้นักเรียนตอบ พอครูเข้าไปแก้ไขกด trash เท่านั้นและข้อมูลหายหมดเลย จึงต้องเพิ่มเรื่องใหม่ให้นักเรียนศึกษาจากเว็บที่ครูคัดกรองให้แล้วตอบคำถามใหม่ในสัปดาห์ต่อไป
เขียนใน ไม่มีหมวดหมู่
เปลี่ยนแปลงใหม่

สวัสดีค่ะเพื่อนครูภาษาไทย ไอที หลังจากการอบรม Social media มาแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ บล้อคของครูเราเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้าง ถ้าเปลี่ยน url ก็กรุณาแจ้งบอกมาที่บล้อคครูภาษาไทย ไอทีนี้ด้วยนะคะ เพราะ ณ วันนี้ 20 เมษายน 2553 ลิงค์ไปแล้วก็ยังเหมือนเดิมค่ะ อย่าลืม ” เจ็ดวันเว้นดีดซ้อมดนตรี สามวันจากนารีเป็นอื่น นะคะ ”
หลังจากครูลัฐิกาไปอบรมครูสอนดีสอนเก่งของสหวิชาดอทคอมมาเมื่อวันที่ 26 -30 เมษายน 2553 ก็ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำสาระความรู้ในเว็บมาเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้ที่จะนำไปสอนนักเรียน และก็เกิดอาการกลัวอีกหลายๆอย่างเพิ่มขึ้น ได้แก่ การนำเพลงมาโพสขึ้นในบล้อคที่ทำโดยไม่ทราบว่าเป็นความผิด ก็เลยต้องกลับมาแก้ไขบล้อคโดยด่วน รวมทั้งรูปภาพสวยๆ ที่เคยนำมาประกอบก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นของตัวเอง ค่ะก็จะพยายามแก้ไขให้ถูกต้องต่อไปค่ะ
เขียนใน การฟัง การดู การพูด
ครูภาษาไทย ไอที

ความเป็นมาของบล้อคครูภาษาไทย ไอที
บล้อคครูภาษาไทย ไอที เป็นบล้อคกลางของครูภาษาไทยที่เกิดขึ้นจากการอบรม Social Media ของสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ในการอบรมครั้งนี้มีครูภาษาไทยได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมเพียง 7 คน จากจำนวนผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด 200 คน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2553 – 2 เมษายน 2553 ซึ่งแต่ละคนยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือในการอบรม แต่คิดว่าอีกสักระยะครูภาษาไทยไอทีก็คงสามารถนำเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ค่ะ
วัตถุประสงค์ของบล้อคครูภาษาไทย ไอที
1. เพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างครูภาษาไทยที่นำ social Media ไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนรู้
2.เพื่อแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ครูได้กรองเนื้อหาจากสื่อ IT ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
ภาระงานของเรา
1. อัพเดทบล้อคของตนเองเพื่อให้ สทร. ตรวจสอบ ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับเกียรติบัตรผ่านการอบรมภายในระยะเวลา 3 เดือน นะคะ
2. ช่วยกันเขียนแสดงความคิดเห็น ติ ชม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความถูกต้องค่ะ
ด้วยความห่วงใย กลัวเพื่อนๆและน้องๆจะลืมรายชื่อสมาชิกกลุ่ม
- ครูจรรย์จารีย์ เภรีฤกษ์ ร.ร.วัดแดง นครศรีธรรมราช เขต 3
- ครูณัฐญา กาลันสีมา ร.ร.ถ้ำปินวิทยาคม สพท พะเยา เขต 1
- ครูรัศมีแข แสนมาโนช ร.ร. บ้านชาด สพท.กาฬสินธุ์ เขต 3
- ครูรุ้งกาญจน์ เกลอดู ร.ร. แม่ริมวิทยาคม สพท.เชียงใหม่ เขต 2
- ครูวสันต์ คำเพราะ ร.ร.บ้านหนองหว้า สพท.ศรีสะเกษ เขต 4
- ครูเยาวรัตน์ เลิศพิพัฒน์กุล รร บ้านขอวิทยา สพท.ลำปาง เขต 3
- ครูลัฐิกา ผาบไชย โรงเรียนด่านแม่คำมัน สพท.อุตรดิตถ์ เขต 1
(อ้อ…ลืมบอก 1 วันที่ผ่านมาพยายามหาวิธีการแก้ไขหัวบล้อคเพิ่งมาเปลี่ยนได้วันนี้เองโดยไปศึกษาจาก วิธีสร้างบล้อคง่ายๆด้วยตนเอง ซึ่งเขียนโดยคุณอิสรา คูประสิทธิ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นไฟล์ ppt จาก powerpointครูลัฐิกาอ่านดูแล้วทำตามก็เปลี่ยนหัวบล้อคของเราได้เลยค่ะ)
จาก ครูลัฐิกา ผาบไชย Lathiga@hotmail.com
แวะไปคุยกันใน facebook นะคะ
เขียนใน 1
การโต้วาที
สวัสดีค่ะ สำหรับบทความนี้เป็นการบ้านที่จะให้นักเรียนชั้น
ม.6ทุกคนจะได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ เรื่อง การโต้วาทีผ่านบทเรียนออนไลน์ค่ะ
เรามารู้จักกับการโต้วาทีอย่างคร่าว ๆ ก่อนนะคะ
การโต้วาทีเป็นวิธีการพูดอภิปรายหรือการพูดแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนในระดับการเรียนที่สูงขึ้น และสามารถนำไปใช้
ในชีวิตประจำวันได้
ขอให้นักเรียนศึกษาและทำความเข้าใจตามลำดับดังนี้ค่ะ
1. ศึกษาเนื้อหา การโต้วาที
3. ทำกิจกรรมจากใบงานที่กำหนด ให้นะ คะ
ต่อนี้ไป ครูต้องฝากให้นักเรียนเข้าไปศึกษาและทำกิจกรรมที่กำหนดให้อย่างตั้งใจ ถ้าหากมีปัญหาหรือข้อสงสัย ให้นักเรียนฝากคำถามไว้ในกระทู้นี้ หรือ ส่งอีเมล์ไปหาครูที่ nuttaya_mean@hotmail.com นะคะ
เอาใจช่วยทุก คนอยู่ค่ะ ^_ูุ^
เขียนใน การฟัง การดู การพูด
การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
-
มาตรฐาน ท.3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณและพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
1.สาระสำคัญ
การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ ทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ที่สามารถนำมาประกอบการแสดงความคิดเห็น จึงควรจัดเก็บข้อมูลที่ได้อย่างเป็นระบบ เป็นทักษะที่ช่วยพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ความคิดอย่างมีระเบียบ มีคุณค่าและมีเหตุผลอย่างแท้จริง
2.จุดประสงค์
2.1. นักเรียนจับใจความสำคัญจากการฟังและดูได้ 10 คะแนน
2.2. นักเรียนตั้งคำถามและตอบคำถามจากเนื้อเรื่องได้ถูกต้อง 10 คะแนน
2.3. นักเรียนนำข้อคิดจากเรื่องไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 10 คะแนน
3.กิจกรรม
3.1.นักเรียนศึกษาเนื้อหาเรื่องการฟังและการดู ซึึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการฟังและการดูที่มีประโยชน์ค่ะ
3.2.ฟังและดูนิทานจากวีดีโอ เรื่องนกพิราบกับกาเจ้าเล่ห์ ซึ่งเป็นนิทานที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการคบเพื่อนค่ะ http://www.youtube.com/watch?v=tYWJPNgKggA
3.3.ทำกิจกรรมจากใบงาน
4. การวัดผลประเมินผล
4.1 วัดจากการเขียนจับใจความสำคัญ 10 คะแนน
4.2 วัดจากการตั้งคำถามและตอบคำถามจากใบความรู้ 10 คะแนน
4.3 นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู 10 คะแนน
เขียนใน การฟัง การดู การพูด
ความเห็นล่าสุด